Loading...

ประวัติ

ประวัติความเป็นมาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

            คณะศิลปศาสตร์ได้ตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2504 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์และขณะนั้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคณบดีคณะศิลปศาสตร์คนแรก 

          ความมุ่งหมายในการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์นั้น ปรากฏอยู่ในโครงการ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2504 ความว่า 

          “การที่จะให้นักศึกษามีความรู้ทั่วในแขนงวิชาด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ก่อนเข้าศึกษาในแขนงวิชาเฉพาะด้านเป็นสิ่งที่น่าพึงปรารถนายิ่ง เพราะจะทำให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีพื้นความรู้กว้างขวาง มีทัศนะอันกว้าง มีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติที่แวดล้อมในสภาพของสังคม และในธรรมชาติ และจิตใจของมนุษย์ อันจะยังผลให้ตนเข้าใจและรู้จักใช้ประโยชน์แขนงวิชาที่ตนจะได้ศึกษาเฉพาะด้านได้มากยิ่งขึ้น และทำให้มองเห็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องของแขนงวิชาที่ตนศึกษาเฉพาะด้านอันมีอยู่ต่อแขนงวิชาอื่นๆ และต่อสิ่งแวดล้อมในทางธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรม ความรู้ความเข้าใจอันกว้างขวางประกอบกับความรู้ในแขนงวิชาเฉพาะด้านเช่นนี้ จะทำให้บุคคลผู้สำเร็จการศึกษาในชั้นปริญญาตรีเป็นผู้ที่รู้จักใช้ความคิดอ่านและใช้วิจารณญาณในการดำเนินชีวิตของตนเองในความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นและในการปฏิบัติการงานในหน้าที่ของตนได้ดียิ่งขึ้น และจะทำให้เป็นบุคคลที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติยิ่งขึ้น

จุดมุ่งหมายของการจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ในครั้งนั้น มีสาระสำคัญ 2 ประการคือ

1.  เพื่อจัดสอนวิชาความรู้พื้นฐานทั่วไปทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์และวิทยาศาสตร์แก่นักศึกษาชั้นปริญญาตรีทุกคนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความเข้าใจอย่างกว้างขวางในสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคมตลอดจนมีความเข้าใจในเรื่องจิตใจมนุษย์ เห็นความต่อเนื่องของวิทยาการแขนงต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดวิจารณญาณอันดี สามารถนำความรู้เฉพาะด้านในแขนงที่ตนศึกษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมให้ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อเปิดสอนจนถึงระดับปริญญาสาขาต่างๆ ทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ที่ยังมิได้มีการจัดสอนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือที่มีการจัดสอนแล้วแต่ยังไม่ถึงขั้นประสาทปริญญา

            คณะศิลปศาสตร์มีจุดมุ่งหมายหลักในการตั้งคณะศิลปศาสตร์ในขณะนั้นคือ การสอนวิชาหลักสูตรพื้นฐานของมหาวิทยาลัย ซึ่งมักเรียกกันว่า วิชาศิลปศาสตร์ หรือ Liberal Arts จึงอาจกล่าวได้ว่าคณะศิลปศาสตร์มีปรัชญาการกำเนิดจากหลักสูตรวิชา
พื้นฐานทั่วไป และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว คณะศิลปศาสตร์ได้เริ่มจัดการเรียนการสอนในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2505 จึงถือว่า วันที่ 15 สิงหาคมเป็นวันสถาปนาคณะศิลปศาสตร์ 

            การเปิดการเรียนการสอนในครั้งแรกนั้นกำหนดให้นักศึกษาที่เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ทุกคนต้องศึกษาในคณะศิลปศาสตร์ ก่อนใน 2 ปีแรก โดยศึกษาวิชาพื้นฐานทั่วไป ซึ่งประกอบด้วยหมวดวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และภาษาต่างประเทศ ก่อนเข้าศึกษาในแขนงวิชาเฉพาะด้านใน ชั้นปีที่ 3 ซึ่งจัดสอนอยู่ในคณะต่าง ๆ
ในขณะนั้นคือ แขนงวิชานิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ศาสตร์

            นอกจากการเปิดสอนหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปในปี พ.ศ. 2505 แล้วคณะศิลปศาสตร์ยังได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีโดยได้ผลิตบัณฑิตรุ่นแรกของคณะศิลปศาสตร์ในปี พ.ศ. 2508 จำนวน 71 คน จากสาขาวิชาต่างๆ ดังนี้

  1. สาขาคณิตศาสตร์
    2. สาขาบรรณารักษศาสตร์
    3. สาขาวิชาประวัติศาสตร์
    4. สาขาวิชาภาษาศาสตร์
    5. สาขาวิชาสถิติ

นอกจากนี้ คณะศิลปศาสตร์ยังได้เปิดสอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นวิชาเลือก และในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ สาขาวิชาสถิติ และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ได้ถูกโอนไปสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ต่อมาคณะศิลปศาสตร์จึงได้เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิชาต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามลำดับ ดังนี้

 

สาขาวิชาระดับปริญญาตรี                                                           ปีที่เปิดสอน

  1. จิตวิทยา                                                                                 2508
  2. ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ                                                            2509
  3. ภาษาอังกฤษ                                                                            2513
  4. ภาษาญี่ปุ่น                                                                              2514
  5. ปรัชญา                                                                                   2514
  6. ภูมิศาสตร์                                                                                2514
  7. ภาษาเยอรมัน                                                                           2514
  8. ภาษาฝรั่งเศส                                                                            2515
  9. ภาษาไทย                                                                                2515
  10. ภาษาจีน (เปิดเป็นวิชาโท 2527 และเปิดเป็นวิชาเอก 2533)             2515
  11. ภาษารัสเซีย 2518
  12. การละคอน (สาขาวิชาการละคอนได้โอนไปอยู่ในความรับผิดชอบ

                             ของคณะศิลปกรรมศาสตร์)                                                           2525   

  1. ศาสนา (หลักสูตรวิชาโท)             2525
  2. สเปนและละตินอเมริกันศึกษา (เปิดวิชาโทปี 2552 และเอกปี 2563) 2551
  3. เกาหลีศึกษา (หลักสูตรวิชาโท) 2561

                 

นอกจากนี้ยังได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีในลักษณะโครงการพิเศษ ดังนี้

  • โครงการอังกฤษ-อเมริกันศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)                                      2542
  • โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา 2543
  • โครงการรัสเซียศึกษา                                     2546
  • โครงการการสื่อสารภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)                          2550
  • โครงการการวิเทศคดีศึกษา (อาเซียน – จีน) (หลักสูตรนานาชาติ)             2557

 

            โดยในปี 2566 คณะศิลปศาสตร์ได้พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรปริญญาตรีในกลุ่มโครงการพิเศษให้จัดการเรียนการสอน ดังนี้

  • โครงการการสื่อสารเชิงธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ) ที่ประกอบไปด้วยสาขาวิชาเอกภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ ภาษาจีนเชิงธุรกิจ ภาษาญี่ปุ่นเชิงธุรกิจ ภาษาเกาหลีเชิงธุรกิจ
  • โครงการอาณาบริเวณศึกษา โดยมีสาขาวิชาเอกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา สาขาวิชาเอกรัสเซียและยูเรเซียศึกษา และสาขาวิชาเอกเกาหลีศึกษา
  • โครงการอังกฤษ-อเมริกันศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
  • โครงการการแปลและล่ามในยุคดิจิทัล ซึ่งเป็นหลักสูตรใหม่ในปี 2566

 

สำหรับในระดับบัณฑิตศึกษานั้น คณะศิลปศาสตร์ได้เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2527 จำนวน 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาภาษาศาสตร์ (ภาษาไทย) (ปรับปรุงเป็นหลักสูตรภาษาศาสตร์เพื่อการสื่อสาร ตั้งแต่ปีการศึกษา 2545) และสาขาวิชาประวัติศาสตร์ และต่อมาได้มีการเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาเพิ่มขึ้น  ดังนี้

สาขาวิชาระดับบัณฑิตศึกษา                                                         ปีที่เปิดสอน

  1. บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ 2529
  2. จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ 2532

(เปลี่ยนเป็นโครงการพิเศษจัดการเรียนการสอนในภาคค่ำตั้งแต่ปี 2543)

  1. ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการแปลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2532
  2. ประกาศนียบัตรบัณฑิตการแปลภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส 2532
  3. ฝรั่งเศสศึกษา 2536
  4. การแปลภาษาฝรั่งเศส-ไทย 2536
  5. จิตวิทยาการปรึกษา 2539
  6. ญี่ปุ่นศึกษา 2540
  7. พุทธศาสนศึกษา 2540
  8. ภาษาไทย 2543
  9. ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ 2543

(เปลี่ยนเป็นวรรณกรรมและการศึกษาเปรียบเทียบในปี 2563)          

  1. ประกาศนียบัตรบัณฑิตภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจและการจัดการ 2547
  2. การแปลภาษาอังกฤษและไทย 2547
  3. ภาษาอังกฤษศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)
  4. สาขาวิชาวัฒนธรรมจีนศึกษา                                     2553

 

 

ในปีการศึกษา 2547 คณะศิลปศาสตร์ได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาศาสตร์ (หลักสูตรปกติ) ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาเอกหลักสูตรแรกของคณะ ในปีการศึกษา 2553 เปิดสอนหลักสูตรปริญญาเอก สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) ในลักษณะโครงการพิเศษ และในปีการศึกษา 2557 เปิดหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ในปีการศึกษา 2563 เปิดหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา  ในปีการศึกษา 2564 เปิดหลักสูตรปริญญาเอกสาขาวิชาภาษาไทย ณ ปัจจุบัน คณะศิลปศาสตร์เปิดรับนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับต่าง ๆ ทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก ซึ่งหากรวมหลักสูตรทั้งหมดที่เปิดสอนในคณะศิลปศาสตร์ในปัจจุบัน (ปี ๒๕๖๖) มีหลักสูตรรวมกันทั้งหมด ระดับปริญญาตรี 19 หลักสูตร (ภาคปกติ 15 หลักสูตร และโครงการพิเศษ 4 หลักสูตร) ระดับปริญญาโท 8 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก 5 หลักสูตร  ดังนี้

 

 

หลักสูตรระดับปริญญาตรี

 

ภาคปกติ (ศูนย์รังสิต)

สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส

สาขาวิชาภาษาเยอรมัน

สาขาวิชาภาษารัสเซีย

สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

สาขาวิชาภาษาและวรรณคดีอังกฤษ

สาขาวิชาสเปนและลาตินอเมริกันศึกษา

สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมจีน

สาขาวิชาภาษาไทย

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

สาขาวิชาประวัติศาสตร์

สาขาวิชาจิตวิทยา

สาขาวิชาปรัชญา

สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ

สาขาวิชาภาษาศาสตร์

สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

โครงการพิเศษ (ศูนย์ท่าพระจันทร์)

โครงการอาณาบริเวณศึกษา

-             สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

-             สาขาวิชารัสเซียและยูเรเซียศึกษา

-             สาขาวิชาเกาหลีศึกษา (เปิดใหม่ปี 2566)

โครงการการแปลและล่ามในยุคดิจิทัล (เปิดใหม่ปี 2566)

โครงการอังกฤษอเมริกันศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

โครงการการสื่อสารเชิงธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)

-             สาขาวิชาภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ

-             สาขาวิชาภาษาจีนเชิงธุรกิจ (เปิดใหม่ปี 2566)

-             สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นเชิงธุรกิจ (เปิดใหม่ปี 2566)

-             สาขาวิชาภาษาเกาหลีเชิงธุรกิจ (เปิดใหม่ปี 2566)

 

 

หลักสูตรระดับปริญญาโท

สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

สาขาวิชาการแปลภาษาฝรั่งเศส-ไทย

สาขาวิชาภาษาไทย

สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา

สาขาวิชาภาษาศาสตร์

สาขาวิชาประวัติศาสตร์

สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา

สาขาวิชาวรรณกรรมและการศึกษาเปรียบเทียบ

 

หลักสูตรระดับปริญญาเอก

สาขาวิชาภาษาไทย

สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา

สาขาวิชาประวัติศาสตร์

สาขาวิชาภาษาอังกฤษศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ)

สาขาวิชาภาษาศาสตร์ (หลักสูตรสองภาษา)

 

            คณะศิลปศาสตร์เปิดการเรียนการสอนในสองศูนย์ ได้แก่ ศูนย์ท่าพระจันทร์ ซึ่งเป็นศูนย์แรกตั้งอยู่อยู่กลางกรุงเทพมหานคร ริมฝั่งแม่น้ำพระยา และศูนย์รังสิตซึ่งปัจจุบันเป็นศูนย์การสอนหลักสูตรปริญญาตรีภาคปกติของทุกหลักสูตร

 

 

คณะศิลปศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์

 

            พื้นที่ของคณะศิลปศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ประกอบไปด้วยตึกคณะ พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ลานโพธิ์ จิ้งหน่อง ซึ่งนับเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ประวัติศาสตร์และความทรงจำแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สะท้อนจิตวิญญาณความเป็นธรรมศาสตร์ และแสดงออกถึงศิลปะ วัฒนธรรมการเมืองในระบบประชาธิปไตย เรื่องราวอันทรงคุณค่าในอดีตของปูชนียบุคคล อาจารย์ ศิษย์เก่าในฐานะผู้ขับเคลื่อนกิจกรรมและพัฒนาการของมหาวิทยาลัยได้ส่งต่อการรับรู้ของนักศึกษาจากรุ่นสู่รุ่น คณะศิลปศาสตร์ ท่าพระจันทร์จึงไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่การศึกษาเท่านั้น แต่ยังเป็นสื่อเชื่อมโยงจิตสำนึกต่ออดีตและเรื่องราวอันทรงคุณค่าอีกด้วย ปัจจุบันคณะศิลปศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์จัดการเรียนการสอนสำหรับหลักสูตรปริญญาตรีภาคพิเศษ ทั้งภูมิภาคศึกษาและโครงการนานาชาติ หลักสุตรระดับปริญญาโทและเอก คอร์สอบรมระยะสั้น ระยะยาว รวมถึงงานบริการสังคม

 

คณะศิลปศาสตร์ ศูนย์รังสิต

 

            ศูนย์รังสิตเป็นที่ดินในโครงการขยายพื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อรองรับการพัฒนาและการขยายตัวของมหาวิทยาลัยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยมีผู้ริเริ่มคนสำคัญคือ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เมื่อครั้งมีนโยบายขยายมหาวิทยาลัยออกไปยังศูนย์รังสิต คณะศิลปศาสตร์เป็นคณะแรก ๆ ที่มีมติย้ายการเรียนการสอนไปยังศูนย์รังสิต โดยในระยะแรกเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เริ่มเปิดการเรียนการสอนที่ศูนย์รังสิตในปีการศึกษา ๒๕๒๙ นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๒๙ เป็นต้นไปให้เรียนที่ศูนย์รังสิต โดยนักศึกษาของคณะสายสังคมศาสตร์หรือคณะเดิมที่ศูนย์ท่าพระจันทร์จะกลับมาเรียนที่ท่าพระจันทร์เมื่อขึ้นชั้นปีที่ ๒ โดยให้คงการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาไว้ที่ศูนย์ท่าพระจันทร์ และขยายเวลาการเรียนที่ศูนย์รังสิตเพิ่มเป็น 2 ปี ในปี ๒๕๔๕ จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นมา การเรียนการสอนในภาคปกติระดับปริญญาตรีทั้งหมดอยู่ที่ศูนย์รังสิต

 

 

จากสัญลักษณ์แห่งความทรงจำ สู่พื้นที่รวมใจของชาวศิลปศาสตร์

 

จิ๊งหน่อง

 

            จิ๊งหน่องเป็นงานประติมากรรมรูปคนที่ทำด้วยสำริดที่ตั้งอยู่ด้านในสวนศิลป์ของคณะศิลปศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์ จิ๊งหน่องสร้างขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลใจจากประติมากรรมนักคิด (Le Penseur หรือ The Thinker) ของโรแด็ง (Auguste Rodin) ศิลปินชาวฝรั่งเศส มีรูปทรงพลิ้วไหวผสมผสานกับศิลปะแบบสุโขทัย ซึ่งศาสตราจารย์อดุล วิเชียรเจริญ ผู้ก่อตั้งคณะศิลปะศาสตร์เป็นผู้ริเริ่มความคิดและมอบหมายให้อาจารย์เขียน ยิ้มศิริ ศิษย์เอกของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบและสร้างสรรค์ประติมากรรมนี้ขึ้นมาพร้อม ๆ กับการก่อสร้างอาคารคณะศิลปศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕

จิ๊งหน่องนี้ เดิมทีศิลปินผู้สร้างงานได้เรียกผลงานชิ้นนี้ว่า “นักศึกษา” ซึ่งชาวศิลป์รุ่นแรกเรียกชื่อว่า “อดุลมุนี” และถูกเรียกว่า “จิ๊งหน่อง” โดยชาวศิลป์รุ่นที่สองจนได้รับความนิยมและเรียกกันต่อมาจนปัจจุบัน ประติมากรรมจิ๊งหน่องนี้ยังแฝงความหมายที่ลึกซึ้งไว้อีกด้วย โดยศาสตราจารย์อดุลได้อธิบายว่าเปรียบเหมือนการศึกษาวิชาการแบบตะวันตกและต้องรักษาความเป็นไทยหรือความเป็นตัวเองไว้ ดังจะเห็นได้จากท่าทางของจิ๊งหน่องที่ผู้สร้างตั้งใจให้สายตาของจิ๊งหน่องมองไปยังลายสือไทที่สลักบนผนังอาคาร มือซ้ายของจิ๊งหน่องถือตำราเรียนอันเป็นสัญลักษณ์ถึงความรักในการเรียนรู้ มือขวายกขึ้น ใช้นิ้วแตะคางทำท่าครุ่นคิด เลียนแบบรูปนักคิดของโรแด็ง เท้าซ้ายก้าวไปข้างหน้าคล้ายกับพระพุทธรูปปางลีลาของสุโขทัย เพื่อสะท้อนให้เห็นคุณลักษณะของนักศึกษาที่ควรเป็น คือ เมื่ออ่านศึกษาแล้ว ต้องคิดให้เกิดปัญญา เมื่อคิดแล้วต้องลงมือทำก้าวไปไม่หยุดนิ่ง และที่สำคัญต้องรู้จักผสมผสานความเป็นไทยและสากลเข้าด้วยกัน

 

ลานโพ

 

 

            หมายถึงต้นโพบริเวณลานด้านหน้าตึกคณะศิลปศาสตร์ ติดกับประตูท่าพระจันทร์ ซึ่งในปัจจุบันกลายเป็นลานจอดรถของคณะศิลปศาสตร์และเป็นที่สัญจรของผู้คนในธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ประวัติของต้นโพนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเกิดขึ้นเมื่อไร แต่คาดว่าอยู่มาตั้งแต่ตอนที่พื้นที่บริเวณนี้เป็นของวังหน้า ครั้งเมื่อมีการก่อสร้างตึกคณะศิลปศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๐๕ มีผู้เสนอให้เสนอให้ตัดต้นโพ แต่ศาสตราจารย์อดุล วิเชียรเจริญได้ขอให้คงต้นโพนี้ไว้ ซึ่งต่อมาลานโพนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เนื่องจากเป็นสถานที่รวมกลุ่มชุมนุมเคลื่อนไหวของนักศึกษาในเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ และเป็นสถานที่แสดงความคิดเห็นทางการเมืองและการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมการเมือง

พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะศิลปศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ.๒๕๐๔

 

ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ คณบดีคณะศิลปศาสตร์คนแรก


ภาพถ่ายมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์ท่าพระจันทร์ก่อนสร้างตึกคณะศิลปศาสตร์




ภาพจำลองตึกศิลปศาสตร์ สร้างเสร็จปี พ.ศ. ๒๕๐๖ เป็นสถาปัตยกรรมแบบ Modernism
ที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น ทรงอาคารรูปตัว T ด้านท่าพระจันทร์มี ๕ ชั้น และขยายเป็น ๘ ชั้นในปี พ.ศ. ๒๕๑๖

ภาพตึกคณะศิลปศาสตร์ฝั่งประตูท่าพระจันทร์ขณะกำลังต่อเติมอาคารจาก ๕ ชั้นให้เป็น ๘ ชั้นแบบในปัจจุบัน เปลือกอาคารชั้น ๑-๕ มีอักขระอักษรนูนต่ำที่สมบูรณ์ในตัวเองและยากต่อการต่อเติมให้มีความต่อเนื่องทั้งด้านรูปลักษณ์และเนื้อความ ดังนั้นเมื่อมีการต่อเติมอาคารระหว่างชั้น ๖-๘ จึงได้ตกแต่งเปลือกอาคารส่วนต่อเติมนี้ด้วยประติมากรรมนูนต่ำที่สร้างจากแผ่นดินเผาดังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน

ภาพตึกคณะศิลปศาสตร์ฝั่งประตูท่าพระจันทร์ภายหลังการต่อเติมอาคารจาก ๕ ชั้นเป็น ๘ ชั้นเสร็จสมบูรณ์

ภาพเปลือกอาคาร ๘ ชั้นที่มีการตกแต่งด้วยอักขระอักษรนูนต่ำบริเวณชั้น ๑-๕ และประติมากรรมแผ่นดินเผาระหว่างชั้น ๖-๘ ดังปรากฏในปัจจุบัน

ภาพลานโพธิ์ในปัจจุบันหน้าอาคารคณะศิลปศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย

ภาพถ่ายศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญบริเวณด้านหน้าประติมากรรมจิ๊งหน่อง

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวงเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นการส่วนพระองค์ เมื่อวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๐  ได้เสด็จทอดพระเนตรห้องสมุดกลาง โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย คณะศิลปศาสตร์ และเสด็จทรงดนตรี ณ หอประชุมใหญ่


สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์เสด็จพระราชดำเนินมาทรงงานในฐานะพระอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ ในตำแหน่งหัวหน้าสาขาภาษาฝรั่งเศสตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม ๒๕๑๓ ถึง ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๖๒ รวมเวลา ๑๓ ปี ๔ เดือน ๑๓ วัน

สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ทรงแสดงความยินดีกับลูกศิษย์รุ่น ๒๕๒๒ ในวันรับพระราชทานปริญญาบัตร


สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดําเนินมาทรงเปิดศูนย์การเรียนรู้ราชนครินทร์ และห้องสมาคมศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ในพระอุปถัมภ์ฯ ในโอกาสเฉลิมฉลอง ๘๐ ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ๕๒ ปี คณะศิลปศาสตร์

ภาพคณะศิลปศาสตร์ ศูนย์ท่าพระจันทร์ในปัจจุบัน

ภาพคณะศิลปศาสตร์ ศูนย์รังสิตในปัจจุบัน

ปรัชญา

ปรัชญาในการผลิตบัณฑิตศิลปศาสตร์

          สร้างบัณฑิตที่มีความรอบรู้ทางด้านศิลปศาสตร์ เข้าใจมนุษย์และสังคม เข้าใจในคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม สามารถใช้เหตุผลวิเคราะห์วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ในการดำรงชีวิตและการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นผู้มีจริยธรรม มนุษยสัมพันธ์และความรับผิดชอบต่อสังคม

วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ ปี 2565-2570

“คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาชั้นเลิศของประเทศทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”

 

พันธกิจ

พันธกิจของคณะศิลปศาสตร์

1. การจัดการศึกษาทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา โดยให้ความสำคัญกับการผลิต
    บัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อตอบสนองการสร้างบัณฑิตที่มีความรู้แบบบูรณาการ เข้าใจตนเอง เข้าใจ สังคม วัฒนธรรม
    เข้าใจความเป็นไปของโลก

2. การวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อแวดวงวิชาการแก่สังคมไทย และสร้างงานวิจัยบูรณาการทางมนุษยศาสตร์และ
    สังคมศาสตร์ที่สามารถพัฒนาเป็นนวัตกรรม

3. ให้บริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศรวมทั้งให้โอกาสแก่
     ผู้ด้อยโอกาสรวมถึงพัฒนาองค์กรและให้สามารถสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนและการทำงานแบบบูรณาการและ

4. ศึกษา ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย